สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ตัวแทนแบรนด์ KUBET DS3177
KUBET การโฆษณาลอตเตอรี
KUBET การโฆษณาลอตเตอรี
KUBET การโฆษณาลอตเตอรี
KUBET การโฆษณาลอตเตอรี
KUBET การโฆษณาลอตเตอรี
KUBET การโฆษณาลอตเตอรี

ไก่ในฟาร์มแบบโรงงาน ช่วยรักษาสภาพอากาศได้จริงหรือไม่?

news - 2023-12-19 09:56

ไก่ในฟาร์มแบบโรงงาน ช่วยรักษาสภาพอากาศได้จริงหรือไม่?

การทำฟาร์มไก่แบบโรงงานถือว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและมีเหตุผลที่สุด ถ้าหากดูการผลิตเนื้อสัตว์จากมุมมองเศรษฐกิจและระบบนิเวศ แต่ก็มีข้อเสียซึ่งเล่าไว้ในบทความ

ไก่เนื้อจำนวน 90,000 ตัว ซึ่งกระพือปีกไปมาภายในโรงเรือน 3 หลังของดาฮิเรล จะมีขนาดตัวใหญ่กว่าเดิม 3 เท่าในเวลาไม่ถึง 1 เดือน และเนื้อของพวกมันจะมีคาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำ“เป้าหมายคือ การผลิตเนื้อสัตว์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้เวลาน้อยที่สุด และใช้อาหารสัตว์ในปริมาณน้อยที่สุด” ดาฮิเรล กล่าวไก่ขาวที่ดาฮิเรลผลิตประมาณ 2 ล้านตัวต่อปี จะมี “น้ำหนักสำหรับการฆ่า” ภายในเวลาน้อยกว่าไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มแบบดั้งเดิมครึ่งหนึ่ง โดยพวกมันจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เมื่อมีอายุ 20 วัน ซึ่งมากกว่าตอนแรกเกิดถึง 20 เท่า และจะมีน้ำหนักมากกว่า 3 กิโลกรัม เมื่ออายุครบ 45 วัน ก่อนที่พวกมันจะถูกนำเข้าโรงฆ่าสัตว์ต่อไปตามข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) ไก่มีคาร์บอนฟุตพรินต์น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ โดยตัวเลขล่าสุดเผยให้เห็นว่า เนื้อไก่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อ 1 กิโลกรัม ขณะที่เนื้อหมูปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 3 เท่า ในปริมาณเดียวกัน ส่วนเนื้อวัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 52 เท่า เนื่องจากเรอของวัวมีก๊าซมีเทนทั้งนี้ ดาฮิเรล ยืนยันว่า การทำฟาร์มแบบเข้มข้น เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและมีเหตุผลมากที่สุด สำหรับการผลิตเนื้อสัตว์จากมุมมองทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศอย่างไรก็ตาม มันก็มีข้อเสียใหญ่เช่นกัน เพราะแม้ว่าไก่ของเขาจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ แต่การผลิตเมล็ดพืชเพื่อเลี้ยงไก่ ต้องใช้ที่ดิน ปุ๋ยสังเคราะห์ และยาฆ่าแมลง เป็นจำนวนมากซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณภาพของน้ำนอกจากนี้ การทำฟาร์มแบบเข้มข้นยังมีเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของสัตว์เช่นกัน ซึ่งไก่ที่ป่วยหรือมีความผิดปกติจะถูกฆ่าทิ้ง เพื่อไม่ให้พวกมันทรมาน และโรงฆ่าสัตว์แบบอัตโนมัติ จำเป็นต้องใช้ผลิต ภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการด้านผู้สันทัดกรณีหลายคนระบุว่า เนื้อไก่อาจเป็นโปรตีนจากสัตว์ที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มันไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับธรรมชาติ“หากเราคิดแค่ในแง่ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม พวกเราทุกคนก็จะเริ่มรับประทานไก่ และการคิดว่านั่นคือวิธีแก้ปัญหา ถือเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ เพราะมันมีหลายสิ่งที่จะส่งผลย้อนกลับในระยะยาว” นายปิแอร์-มารี ออแบร์ จากคลังสมองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน “ไอดีดีอาร์ไอ” ของฝรั่งเศส กล่าว..<\/p>","word":"ผู้เขียน

#ไก่ #ฟาร์มไก่ #สภาพอากาศ #โรงงาน